ละองหรือละมั่ง
Cervus eldi
( Mcclelland, 1842 )
 
ลักษณะ : เป็นกวางที่มีขนาดโตกว่าเนื้อทรายแต่เล็กกว่ากวางป่า เมื่อโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ 1.2-1.3 เมตร น้ำหนัก 100-150 กิโลกรัม ขนตามตัวทั่วไปมีสีน้ำตาลแดง ตัวอายุน้อยจะมีจุดสีขาวตามตัว ซึ่งจะเลือนกลายเป็นจุดจางๆเมื่อโตเต็มที่ในตัวเมีย แต่จุดขาวเหล่านี้จะหายไปจนหมดในตัวผู้ตัวผู้จะมีขนที่บริเวณคอยาวและมีเขาและเขาของละองจะมีลักษณะต่างจากเขากวางชนิดอื่นๆในประเทศไทย ซึ่งที่กิ่งรับหมาที่ยื่นออกมาทางด้านหน้า จะทำมุมโค่งต่อไปทางด้านหลังและลำเขาไม่ทำมุมหักเช่นที่พบในกวางชนิดอื่นๆ

อุปนิสัย : ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะเข้าฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ออกหากินใบหญ้า ใบไม้ และผลไม้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่เวลาแดดจัดจะเข้าหลบพักในที่ร่ม ละอง ละมั่งผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว

ที่อยู่อาศัย : ละองชอบอยู่ตามป่าโปร่ง และป่าทุ่ง โดยเฉพาะป่าที่มีแหล่งน้ำขัง

เขตแพร่กระจาย : ละองแพร่กระจายในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำ ในประเทศไทยอาศัยอยู่ในบริเวณเหนือจากคอคอดกระขึ้นมา

สถานภาพ : มีรายงานพบเพียง 3 ตัว ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ละอง ละมั่งจัดเป็นป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดอยู่ใน Appendix

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบัน ละอง ละมั่งกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากสภาพป่าโปร่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่นาและที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ทั้งยังถูกล่าอย่างหนักนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา