การอนุรักษ์สัตว์ป่า
 

           สัตว์ป่า เป็น ทรัพยากร ธรรมชาติ ที่สามารถ ทำให้ เพิ่มจำนวน มากขึ้นได้ แต่ถ้าหาก สัตว์ป่า ชนิดใด สูญพันธุ์ ได้แล้ว จะไม่ สามารถ สร้างพันธุ์ ของสัตว์ป่า ชนิดนั้น ขึ้นมา ได้อีก การอนุรักษ์ สัตว์ป่า จึงควร มีหลักดังน
ี้
1. การใช้ กฎหมาย ควบคุม เป็นการ อนุรักษ์ สัตว์ป่า ทางตรง มีการ ป้องกัน และปราบปราม ผู้กระทำ ผิดพระราช บัญญัติ สงวนและ คุ้มครอง สัตว์ป่า อยู่เสมอ การจัด ตั้งเขต อุทยาน แห่งชาติ เขตรักษา พันธุ์ป่า จึงควรม ีหลักดังนี้
2. การสงวน แหล่งที่อยู่ อาศัย ของสัตว์ป่า หมายถึง การป้องกัน รักษา ป่าไม้ ที่จัด เป็นเขต รักษา พันธ์สัตว์ป่า เขตป่า ในอุทยาน แห่งชาติ เขตวน อุทยาน ต้องม ีการป้องกัน บำรุง รักษา และการ ปลูกพันธุ์ ไม้ขึ้น มาใหม่ การสงวน ทุ่งหญ้า การทำถ้ำ รู โพรง รักษาโป่ง หรือที่ดิน เค็ม ให้อยู่ใน สภาพ ถาวร เช่น การนำ เกลือ ไปไว้ ในเขตดินโป่ง บนเขาใหญ่ ให้ช้าง และสัตว์ ทั้งหลาย ได้มากิน เป็นต้น
3. การเพาะ พันธุ์เพิ่ม เช่น ตามสวนสัตว์ ต่าง ๆ เขตรักษา พันธุ์สัตว์ หลายแห่ง เลี้ยงสัตว์ บางชนิด ไว้ใน กรงเพื่อ เพาะพันธุ์เพิ่ม เมื่อมีมาก แออัด จึงนำ สัตว์บางชนิด ไปปล่อย ไว้ใน ป่าเปิด ของอุทยาน แห่งชาติ เช่น สัตว์ที่ มีมาก จากสวนสัตว์ ดุสิต เจ้าหน้าที่ ได้นำ ไปปล่อย ไว้ที่ อุทยาน แห่งชาติ เขาเขียว เขาชมพู่ เป็นต้น
4. การค้นคว้า วิจัย ทางวิชาการ ถือได้ ว่าเป็น พื้นฐาน ของการ จัดการ สัตว์ป่า ให้มี จำนวน เพิ่มขึ้นในระดับที่ พอเหมาะ กับอาหาร และที่หลบภัย ในท้องที่นั้น ๆ
5. การใช้ ประโยชน์ จากสัตว์ ตรงตาม หลักการ อนุรักษ์ ทรัพยากรโดยไม่เก็บ ทรัพยากร ไว้เฉย ๆ เท่านั้น ยังต้อง รู้จัก นำทรัพยากร นั้น ๆ มาใช้ ให้เป็น ประโยชน์ มากที่สุด เช่น จัดสถานที่ ชมสัตว์ป่า จัดสวนสัตว์ ให้เป็น ที่พักผ่อน หย่อนใจ แก่มนุษย์ ให้ความรู้ ตามสมควร ถ้ามี จำนวน สัตว์บาง ชนิดมาก เกินไป ก็ควร เปิดให้มี การล่าสัตว์ นั้น ๆ ตาม หลักของ สมดุล ธรรมชาติ...

           การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทย
พ.ศ. 2443 - ประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าเพียงฉบับเดียว คือ พรราชบัญญัติการรักษาช้างป่า ร.ศ. 119 แต่กฏหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเพื่อรักษาช้างป่าอย่างเดียว
- ในสมัยนั้นการล่าสัตว์ของชาวชนบทถือเป็นเรื่องปกติ
- คนเมือง การล่าสัตว์เพื่อเอาเขา หรือหนัง ถือเป็นเกมกีฬาชนิดหนึ่ง
พ.ศ. 2503 – ออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 เนื่องจาก
- หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุปกรณ์ต่างๆ ทันสมัยขึ้น เข้าไปในเขตทุรกันดารได้ง่าย การล่าจึงมีมากขึ้น
- การขยายพื้นที่การเกษตร บุกรุกแผ้วถางป่า
- สัตว์ป่าลดจำนวนลงรวดเร็ว บางชนิดสูญพันธุ์
พ.ศ. 2535- ปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า เนื่องจาก
- พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 บังคับใช้เป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี ส่งผลให้มาตรการที่มีอยู่ ไม่สามารถทำให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ไทยเข้าร่วมกับอนุสัญญา CITES

           การสงวนและรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
คือ การรักษาป่าไม้ประเภทต่างๆ ซึ่งมีความเหมาะสมต่องการดำรงชีวิตของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ให้คงอยู่ตลอดไป โดยมีรูปแบบการจัดการพื้นที่เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และ พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เพื่อกำหนดพื้นที่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย เพื่อว่าสัตว์ป่าในพื้นที่ดังกล่าวจะได้มีโอกาสสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้มากขึ้น ทำให้สัตว์ป่าบางส่วนได้มีโอกาสขยายจำนวนออกไปในท้องถิ่นอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
อาณาบริเวณที่ทางราชการได้กำหนดไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิด โดยออกเป็นประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มักจะมีขนาดไม่กว้างเหมือนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณซึ่งใช้ในราชการหรือเพื่อใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ร่วมกัน

           แหล่งที่มา : www.police.go.th